โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ครม. อนุมัติ 24,400 ล้านบาท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อผลักดันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 22 ม.ค.64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 24,400 ล้านบาท
ประกอบด้วยงบสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund)
สำหรับการทำวิจัยที่เน้นตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ จำนวน 14,640 ล้านบาท และงบสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research Fund) และ Functional-based Research Fund เน้นสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานจำนวน 9,760 ล้านบาท
โดยมีเป้าหมาย 4 แพลตฟอร์ม 17 โปรแกรมที่ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนากำลังคนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ
ทั้งนี้ แนวทางการจัดสรรงบประมาณ เป็นแบบวงเงินรวม (Block grant) และการจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องแบบหลายปี (Multi-year budgeting) มีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ยืดหยุ่นและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
เน้นขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของประเทศด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีระบบคมนาคมแห่งอนาคต อุตสาหกรรม 4.0 การขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาทักษะของทรัพยากรมนุษย์ของไทย การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว BCG และการวิจัยด้านสังคม รวมทั้งยังสอดรับกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุงด้วย
“ผลสำเร็จในปี 2563 ที่ผ่านมา งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถูกนำไปใช้เพื่อตอบโจทย์การพัฒนากำลังคน เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 อาทิ ผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัย การผลิตชุดตรวจเชื้อโควิด-19 โดยวิธี Real-Time RT-PCR จากน้ำลาย เป็นต้น” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ทีมนักวิจัยออสเตรีย ต่อยอดงานของนักวิจัยจีนด้วยการตรวจเอกซเรย์อิเล็กตรอน และทำให้ภาพ โคโรนาไวรัส กลายมาเป็น 3 มิติ ครั้งแรกของโลก บริษัท Nanographics ที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเวียนนา ประเทศออสเตรีย เผยแพร่ภาพ โคโรนาไวรัส ในรูปแบบ 3 มิติ เป็นครั้งแรกของโลก โดยพวกเขานำข้อมูลของนักวิจัย มหาวิทยาลัยชิงหวา กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มาต่อยอด
หมอยง วิเคราะห์ วัคซีน อาจไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้คน ตาย
หมอยง วิเคราะห์เหตุการณ์ในประเทศนอร์เวย์ที่มีผู้ฉีดวัคซีน 29 คน ตาย หลังเข้ารับฉีดวัคซีน ชี้อาจไม่ได้มาจากวัคซีนเสมอไป หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตหลังรับวัคซีนไฟเซอร์ในประเทศนอร์เวย์ 29 ศพ
โดยหมอยงระบุว่า สาเหตุการตายอาจไม่ได้มาจากวัคซีนเสมอไป และอาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
“การตายในผู้สูงอายุหลังให้วัคซีนในประเทศนอร์เวย์จำนวน 23 รายเป็นข่าวใหญ่ทำให้เกิดวิตกกังวลต่อกระบวนการให้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์หลังการให้วัคซีนของไฟเซอร์ในประเทศนอร์เวย์ที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจำนวนมาก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการไม่พึงประสงค์หลังให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีนหรือแพ้วัคซีน กรรมการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ให้หรือไม่จะตรวจสอบอย่างละเอียด การศึกษาวัคซีนใหม่ถึงแม้ว่าจะผ่านระยะที่ 3 แล้ว จะต้องตามอาการไม่พึงประสงค์หลังนำไปใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อย่างเช่นใน นอร์เวย์
ผมทำการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนมากว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน ผู้ที่รับวัคซีนเดินกลับบ้านไปตกท่อจะต้องรายงานว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์และหาสาเหตุของการตกท่อว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ให้กรรมการกลางที่ดูแลด้านความปลอดภัยมาช่วยพิจารณาด้วยเพราะวัคซีนที่ฉีด อาจทำให้เวียนศีรษะแล้วเดินตกท่อก็ได้ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วมีการตายถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เคยมีอาสาสมัครฉีดวัคซีนแล้วอีก 2 วันเสียชีวิต รายงานทันทีที่ได้รับทราบการเสียชีวิต ในรายนี้ถูกยิงตายจะต้องหาสาเหตุว่า วัคซีนที่ฉีดอาจจะทำให้เกิดความก้าวร้าวที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกยิงก็ได้ และเช่นเดียวกันมีผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนที่ผมเคยดูแลอยู่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็ต้องดูในรายละเอียดเพราะวัคซีนอาจจะทำให้อาการง่วงหนาวหาวนอนแล้วเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุก็ได้
การเสียชีวิตของผู้สูงอายุในนอร์เวย์ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการให้วัคซีนของประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อายุมากกว่า 80 ปีอยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุส่วนมากจะมีโรคประจำตัว ในภาวะปกติในสถานดูแลผู้สูงอายุก็มีการเสียชีวิตอยู่ประจำอยู่แล้ว แน่นอนเมื่อเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีนก็ต้องพิสูจน์กันว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีนหรือไม่หรือจากโรคชรา โรคประจำตัว จนกว่าจะมีการพิสูจน์การเสียชีวิตอย่างละเอียดทุกราย จึงค่อยว่ากันว่าเป็นสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่ การเสียชีวิตดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไหนหยุดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป