เกิดอุบัติเหตุสิ่งของตกหล่นใส่รถยนต์อีกครั้ง ในครั้งนี้คือ ท่อร้อยสายไฟ ที่มีการหล่นโดน รถเบนซ์ ทำให้ตัวรถยนต์เสียหายเล็กน้อย ทางด้านคนขับนั้น ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด (5 ส.ค. 2565) เมื่อเวลา 22.50 น. ของวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ได้เกิดเหตุการณ์สิ่งของตกใส่รถยนต์อีกครั้ง โดยในที่นี่เป็นกรณีการตกลงมาของ ท่อร้อยสายไฟ ที่ได้หล่นโดน รถเบนซ์ คันหนึ่งที่กำลังสัญจรอยู่ โดยส่งผลให้ตัวรถยนต์ได้รับความเสียหายเล็กน้อย ทางด้านของคนขับนั้นถือว่าปลอดภัย
รายละเอียดในเบื้องต้นนั้น อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญ ได้ทำการตรวจสอบ ณ ถนนนราธิวาส ซอย 7
ภายหลังจากที่ได้รับแจ้งถึงเหตุการณ์ ท่อเหล็กร้อยสายไฟ สะพาน ร่วงหล่นใส่รถยนต์ยี่ห้อ เมอร์เซเดส เบนซ์ โดยตัวรถยนต์ได้รับความเสียบางส่วน ขณะที่ผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าว ปลอดภัย ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
เผย แผนผังเมาท์เท่นบี สถานที่เกิดโศกนาฎกรรมไฟไหม้ผับชลบุรี พบประตูเข้าออกเล็ก แถมออกประตูหลังก็ไม่ได้ เนื่องจากถูกล็อกเอาไว้ ส่องแผนผังเมาท์เท่นบี บริเวณ ริมถนนสายสุขุมวิทบางนา-ตราด ม.7 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หลังจากที่เกิดเหตุไฟไหม้ผับชลบุรี เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 5 ส.ค. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ศพ และได้รับบาดเจ็บกว่า 40 ราย
ทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ได้ทำแผนผังเมาท์เท่นบี โดยอ้างอิงจาก หนุ่ย ระพล นักร้องประจำผับ โดยผับเมาท์เท่นบี มีทางเข้าออกสำหรับลูกค้าทางเดียวคือทางหน้าร้านเท่านั้น ส่วนประตูก็มีขนาดเล็ก ใหญ่กว่าประตูห้องนอนทั่วไปเพียงนิดเดียว และยากที่จะออก
ด้วยขนาดประตูที่เล็กทำให้ออกได้ทีละคนถึงสองคนเท่านั้น นอกจากขนาดเล็กแล้ว ยังเป็นประตูสองชั้นอีก กล่าวคือ ต้องเดินผ่านประตู 2 บาน แม้ว่าจะมีประตูออกหลังร้าน แต่ประตูนั้นมักจะถูกล็อกด้วยกุญแจ และมักจะใช้ให้นักดนตรีหรือนักร้องเข้าออกเท่านั้น
เมื่อเข้าไปภายในร้าน ก่อนถึงทางออกก็จะมีบูธดีเจขวางอยู่ตรงกลาง ทำให้วิ่งออกตรงๆ ไม่ได้ นักท่องเที่ยวจึงต้องแย่งกันวิ่งออก ยิ่งยากต่อการหลบหนีขึ้นไปอีก ส่วนเพดานนั้นต่ำ มีโฟมซับเสียงติดอยู่ด้านบน และเมื่อเกิดไฟไหม้ผับชลบุรีขึ้น ไฟก็ได้ติดโฟมก่อนจะลุกลามอย่างรวดเร็วและเป็นเหตุสลดขึ้น
กรมควบคุมโรค เผย รายละเอียดผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 4 ตรวจสอบพบไปสถานบันเทิงย่านชาวต่างชาติสัปดาห์ละครั้ง สั่งเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงสูง นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยรายละเอียดผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 4 ของประเทศ โดยผู้ป่วยคนดังกล่าวมีประวัติไปเที่ยวสถานบันเทิงในพื้นที่กรุงเทพ ในย่านที่ชาวต่างชาติมักจะเที่ยว สัปดาห์ละครั้ง และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับชายต่างชาติ
จากการสอบถาม ผู้ป่วยมีไข้ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. แต่ ไปเที่ยวสถานบันเทิงพร้อมเพื่อนชาวไทย และชาวต่างชาติ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เริ่มมีตุ่มขึ้นที่แขนขา แล้วลามไปทั่วร่างกาย ร่วมถึงอวัยะเพศ
หมอมนูญ เล่า ติดโควิดซ้ำ ห่างกัน 19 วัน รอบสองอาการหนักกว่า
หมอมนูญ เผยพบผู้ป่วยโควิด ติดโควิดซ้ำ ห่างกัน 19 วัน รอบสองอาการป่วยหนักกว่ารอบแรก คาดเป็นคนละสายพันธุ์ รวมถึงผู้ป่วยภูมิต่ำ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กเปิดเผยว่าพบผู้ป่วยโควิด ติดโควิดซ้ำ ห่างกัน 19 วัน แถมครั้งที่สองอาการหนักกว่าครั้งแรกด้วย
หมอมนูญกล่าวว่า “ผู้ป่วยชายไทยอายุ 67 ปี มาโรงพยาบาลด้วยไข้ ไอ มีเสมหะ 10 วัน ประวัติเดินทางไปเที่ยวประเทศอิตาลี ขึ้นเครื่องบินวันที่ 20 มิ.ย.65 หลังเดินทางไปถึงประเทศอิตาลี 4 วัน วันที่ 24 มิ.ย. เริ่มมีอาการไข้ ไอ เสมหะ ตรวจ ATK เองได้ผลบวก ภรรยาที่ไปด้วย มีอาการคล้ายกัน และตรวจ ATK ให้ผลบวกเหมือนกัน ทั้ง 2 คนกินฟ้าทะลายโจร อาการดีขึ้นหายเป็นปกติ เดินทางกลับถึงประเทศไทยวันที่ 9 ก.ค.
หลังกลับถึงกรุงเทพ 4 วัน วันที่ 13 ก.ค. เริ่มมีอาการไข้ ไอและมีเสมหะอีก ตรวจ ATK เองให้ผลลบ กินยาปฏิชีวนะไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยมีไข้ ไอ มีเสมหะต่อเนื่อง 10 วัน เริ่มเหนื่อย ผู้ป่วยเคยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาหายแล้ว หยุดยาทุกอย่าง 5 ปี ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม และกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม
ตรวจร่างกาย มีไข้อุณหภูมิ 39.5 องศาเซลเซียส ฟังปอดผิดปกติทั้ง 2 ข้าง เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาวที่ปอดด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา ระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วต่ำเล็กน้อย 94 ตรวจ ATK และ RT-PCR SARS-CoV2 ให้ผลบวก ค่า RdRp/N-gene (CT Value) 17.4 ส่งตรวจ respiratory virus และ bacteria PCR panel ไม่พบไวรัส และแบคทีเรียตัวอื่นๆที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ ตรวจไม่พบเชื้อวัณโรค
วินิจฉัยเป็นปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งที่ 2 ให้ยาฉีดเรมเดซิเวียร์ (remdesivir) 5 วัน และเสตียรอยด์ทางหลอดเลือด คนไข้ดีขึ้น ไข้ลง ไอน้อยลง ไม่เหนื่อย เอกซเรย์ปอดดีขึ้น หยุดใช้ออกซิเจน ระดับออกซิเจนในเลือดกลับมาปกติ
ผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไวรัสโควิด 2 ครั้งห่างกันเพียง 19 วัน เชื่อว่าติดเชื้อต่างสายพันธุ์ระหว่างเดินทางในเครื่องบินทั้งขาไปและขากลับ เพราะเวลากินอาหารในเครื่องบินต้องถอดหน้ากากอนามัย ติดเชื้อครั้งที่ 2 รุนแรงกว่าติดเชื้อครั้งแรก ทั้งๆที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีน 3 เข็มแล้ว แต่ผู้ป่วยอาจมีภูมิคุ้มกันไม่ดี เนื่องจากเคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ถึงแม้จะรักษาหายขาด 5 ปีแล้วก็ตาม
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป