จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าทดลอง วัคซีนใบยาสูบ เตรียมเริ่มทดลองเฟสหนึ่งในช่วงเดือนกันยายนนี้ เชื่อป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช เพื่อผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ ก.พ.2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
นายอนุทินกล่าวว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ก.พ.63
ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี แต่เนื่องจากยังไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนด้วยพืชในประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาท ให้แก่จุฬาฯและบริษัทใบยาในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช ใช้เวลา 8 เดือนในการปรับปรุงบนพื้นที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ขนาด 1,200 ตารางเมตร ผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ ที่บริษัท คินเจ่น ไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีนที่สถานเสาวภาต่อไป
ทั้งนี้ วัคซีนจุฬา-ใบยาจะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนก.ย. เบื้องต้นประมาณ 100 คน ในขนาดโดส 10 ไมโครกรัม 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าในไตรมาส 3 ของปี 65 สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 ฝีมือคนไทยในประเทศเองได้มาก 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือราว 60 ล้านโดสต่อปี
“วันนี้ได้มาให้กำลังใจทีมไทยแลนด์ ซึ่งเป็นการวิจัยพัฒนาวัคซีนสัญชาติไทยโดยบริษัทของคนไทย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนในทุกด้าน เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จโดยเร็ว เพราะถือเป็นนวัตกรรม องค์ความรู้ และเกิดประโยชน์ต่อประเทศ ที่สำคัญคือวัคซีนนี้สามารถปรับปรุงรองรับสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ทันที ขณะนี้กำลังดำเนินการใน 10 สายพันธุ์ หากสำเร็จ อนาคตอาจจะเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถใส่หลายสายพันธุ์ลงไปในวัคซีนได้ ทำให้การป้องกันก็น่าจะสูงขึ้น” นายอนุทินกล่าว
โดยยาสมุนไพรแพทย์แผนจีนทั้ง 3 ชนิดนี้รวมกันเป็นตำรับ”ยวี่ผิงเฟิงซ่าน” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีใช้มาอย่างยาวนาน โดยเป็นยาที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นระบบย่อยอาหารบำรุงปอด และม้าม มีฤทธิ์ขับพิษอ่อนๆ ส่วนยาเพื่อการรักษาควรจัดโดยแพทย์แผนจีนเท่านั้น ไม่ควรหามารับประทานเอง
แพทย์แผนจีน ธนัตเทพ เตระทวีดุลย์ ได้กล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการใช้ยาสมุนไพรแพทย์แผนจีน ควบคู่กับยาสมุนไพรแพทย์แผนไทยว่าสามารถทำได้ โดยยาสมุนไพรบางชนิดที่ใช้ทั้งในแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนไทยก็มี เช่นดอกคำฝอย (หงฮวา) ชะเอมเทศ (กำเช่า) โกฐเชียง (ตังกุยเหว่ย) ฯลฯ
‘ดร.อนันต์’ แนะเก็บ ‘โมเดอร์นา’ ให้ ผู้สูงอายุ ชี้ประสิทธิภาพดีกว่าไฟเซอร์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก พูดถึงประสิทธิภาพในการฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้อโมเดอร์นาและไฟเซอร์ รวมถึงความเหมาะสมในการเลือกฉีดให้ผู้สูงอายุ
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “ควันหลงจากโพสต์เรื่อง Pfizer Vs Moderna เมื่อวานครับ วันนี้มีงานวิจัยอีกชิ้นนึงที่เก็บข้อมูลโดยทีมวิจัยที่ประเทศแคนาดา ตัวอย่างคือผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา เกือบ 200 คน และ ผู้ดูแลผู้สูงอายุเหล่านั้น ที่ต่างได้รับวัคซีน mRNA ไม่ว่าจะเป็น Pfizer และ Moderna ครบแล้วทั้งสิ้น งานวิจัยนี้เปรียบเทียบภูมิคุ้มกันที่ตรวจในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด และ เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ดูแลที่เป็นกลุ่มอายุน้อยกว่า
เมื่อเปรียบเทียบดูปริมาณแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ในกลุ่มผู้สูงอายุตัวเลขออกมาชัดว่า กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Moderna (mRNA-1273) มีปริมาณแอนติบอดีที่สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Pfizer (BNT-162b2) ซึ่งตัวเลขตรงนี้จะไม่ชัดเมื่อดูในกลุ่มของผู้ดูแลซึ่ง Moderna จะสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อนำซีรั่มดังกล่าวไปตรวจหาดูแอนติบอดีชนิด NAb ที่ยับยั้งไวรัสได้จะเห็นภาพเดียวกันคือ กลุ่มที่ได้วัคซีน Moderna สูงกว่า Pfizer อย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลจากการศึกษานี้เหมือนจะบอกว่า สำหรับผู้สูงอายุแล้ว Moderna น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Pfizer
ภาพดูเหมือนจะชัดขึ้นอีกเมื่อดูปริมาณ NAb กับไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ ให้สังเกตจำนวนจุดที่อยู่ในระดับ 10^0 (คือป้องกันไม่ได้เลย) ที่มีมากอย่างชัดเจนในผู้สูงอายุที่ได้ Pfizer โดยตัวเลขของผู้สูงอายุที่ได้ Pfizer และไม่มี NAb ต่อสายพันธุ์เบต้าเลยมากถึง 37.9% ขณะที่ pattern ดังกล่าวเห็นไม่ชัดเมื่อดูในกลุ่ม Staff ที่อายุน้อยกว่า…ผลการทดลองนี้เหมือนจะบอกว่า
ในอนาคตเราอาจจะมี mRNA vaccine มากขึ้น ซึ่งแต่ละยี่ห้ออาจจะได้ผลพอๆกันในกลุ่มหนึ่ง แต่อาจได้ผลต่างกันมากในอีกกลุ่มหนึ่ง วัคซีนทางเลือกของประเทศไทยอย่าง Moderna อาจจะจำเป็นต้องใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการมากที่สุดหรือไม่อย่างไร?”
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป