เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์อย่างมาก หลังจากที่ Thaiger นำเสนอข่าว ค่าเหยียบแผ่นดิน จนมีผู้อ่านสอบถามเข้ามาเพิ่มเติมว่า ค่าเหยียบแผ่นดิน คืออะไร ต้องย้อนกลับไปที่ เช้าวันนี้ (12 ม.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2 ช่วงเดือนเมษายน วางแผนจะเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทย 300 บาทต่อคน หรือเรียกกันว่าค่าเหยียบแผ่นดิน เพื่อนำเงินที่ได้รับไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในไทย และทำประกันให้แก่นักท่องเที่ยว กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต ก็จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท เป็นต้น โดยวางแผนเก็บรวมกับค่าตั๋วเครื่องบินกรณีเดินทางทางอากาศ และอยู่ระหว่างการพิจารณาวิธีการเรียกเก็บจากการเดินทางทางบก
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า จะมีชาวต่างชาติมาเที่ยวไทยอยู่ที่ประมาณ 5-15 ล้านคน
ดังนั้นจะทำให้ไทยมีรายได้จากการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินที่ประมาณ 1 พัน 5 ร้อยล้าน ถึง 4 พัน 5 ร้อยล้านบาท จากข้อมูล พอสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ค่าเหยียบแผ่นดิน คือ ค่าที่เปรียบเสมือนค่าบัตรผ่านเข้าประเทศไทย เป็นเงินที่จะต้องจ่ายเพิ่มจากค่าใช้จ่ายปกติ และอาจจะถูกเก็บบวกเพิ่มไปกับค่าตั๋วโดยสาร แต่ความชัดเจนต้องรอประกาศอีกครั้ง และเงินที่จ่ายไป จะนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อีกทางก็คือทำประกันให้นักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอาจจะได้กลับมาในรูปเงินชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
ตามไทม์ไลน์ ค่าเก็บแผ่นดิน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ถูกเก็บจะเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้าไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นไป คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยก่อนหน้านี้ยังไม่ต้องเสีย อย่างไรก็ดี ไม่มีรายงานว่าจะเก็บค่าเหยียบแผ่นดินชาวไทยที่เดินทางเข้าประเทศไทยจากต่างประเทศแต่อย่างใด
จริง ๆ แล้ว แนวคิดเรื่อง ค่าเหยียบแผ่นดิน ไม่ใช่เรื่องใหม่ อ้างอิงจากรายงานข่าวของ วอยซ์ทีวี ตั้งแต่ปี 2559 ว่า นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. ในสมัยนั้น มีแนวคิดเก็บค่าเหยียบแผ่นดินนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ คนละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 360 บาทต่อคนต่อครั้ง เพื่อนำเงินไปใช้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในตอนนั้นมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่ายจนการเก็บเงินดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ข่าวคลิปตำรวจจราจร จอดรถล้ำเส้นจอดไฟแดง ปรับ 500 คนในคลิปโดนด้วย
นครบาลแจง กรณีปรากฏคลิปตำรวจจราจร จอดรถจักรยานยนต์ ล้ำเส้นจอดไฟแดง ลงโทษปรับ 500 บาท คนในคลิปโดนใบสั่งด้วย จากกรณีมีคลิปตำรวจจราจรรายหนึ่ง จอดรถล้ำเส้นจอด บริเวณสี่แยกไฟแดง จนปรากฏภาพเผยแพร่ทางสื่อโซเซียล โดยระบุข้อความว่า “จอดตรงจุดจอดก่อนทางม้าลายจะตายหรือยังไงแม้ตำรวจเองยังไม่เคารพกฎ”
กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า ข้าราชการตำรวจที่ปรากฏในภาพดังกล่าว คือ ส.ต.ท.วิฑูรย์ ตาปู่ ตำแหน่ง ผบ.หมู่ งานสายตรวจ 2 กก1.บก.จร. โดยเป็นกรณีที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 11 ม.ค.65 เวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณแยกอังรีดูนังต์ ถนนพระราม 4 พื้นที่รับผิดชอบของ สน.ปทุมวัน
เมื่อตรวจสอบจากพยานหลักฐาน พบว่า มีการกระทำความผิดจริง โดยในวันเดียวกันเวลา 13.00 น. พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้เรียกตัว มาพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ข้อหา “ไม่หยุดรถหลังเส้นหยุด” และทำการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500 บาท เป็นที่เรียบร้อย พร้อมกันนี้ได้ออกใบสั่งทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับที่ผู้กระทำผิดซึ่งปรากฏอยู่ในคลิปภาพเดียวกันอีกจำนวน 5 ราย ซึ่งจะได้ติดตามตัวมาดำเนินการเปรียบเทียบปรับต่อไป
ทั้งนี้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้กำชับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานจราจรในสังกัด เพื่อให้ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ประชาชน พร้อมสั่งการหากมีการกระทำความผิดก็ต้องรับโทษ ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน และกำชับให้มีการกวดขันจับกุมรถจักรยานยนต์ที่ฝ่าผืนกฎหมายจราจร โดยมุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และลดอุบัติเหตุทางถนนโดยเคร่งครัดต่อไป
จึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทราบ และหากต้องการทราบข้อมูลสภาพการจราจร และสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ WW.TRAFFICPOLICE.GO.TH และ Facebook 1197
“ขณะนี้ลักษณะของโรคลดความรุนแรงลง คนไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานจากวัคซีน ระบบการดูแลรักษาบ้านเรามีความพร้อม มีประสิทธิภาพ อัตราป่วยหนักและเสียชีวิตอยู่ระดับที่ต่ำ ความร่วมมือทุกฝ่าย สถานประกอบการ องค์กร ประชาชน ยังต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล และ COVID Free Setting ก็จะมีความหวังว่าปีนี้โรคโควิดจะเปลี่ยนจากโรคระบาดมาเป็นโรคประจำถิ่น” พญ.สุมนี กล่าว
เมื่อวานนี้ (12 มกราคม 2565) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้ทำการประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊คถึงการดำเนินการปรับเปลี่ยน เส้นทางเดินรถใหม่ ภายในเส้นทางประจำภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคใต้ โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป